1. ไฟไหม้โรงแรมรอยัล จอมเทียน พัทยา วันที่ 11 กรกฏาคม 2540 เวลา 9.30 น.

สถานที่เกิดเหตุ

ห้องครัวชั้นล่างของโรงแรมรอยัล จอมเทียน พัทยา

สาเหตุเริ่มต้น

Human Error ในการเปิด-ปิดถังก๊าซ ทำให้ก๊าซรั่วไหลไปกระทบเปลวไฟจากการประกอบอาหารในห้องครัว จึงเกิดการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากพื้นโรงแรมส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่ติดไฟได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพรม ผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์ไม้ ประกอบกับที่ตั้งอาคารอยู่ติดกับทะเลจึงมีลมพัดแรง ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว

สาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง และมีผู้อาศัยในโรงแรมเสียชีวิตจำนวนมาก

ทางหนีไฟไม่ได้มาตรฐานอาคารสูง
ไม่ติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ไม่ทำงานขณะเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความชำนาญในการระงับเหตุ

ความเสียหาย

เสียชีวิต 91 ราย และอาคารเสียหายทั้งหมด

แนวทางแก้ไข

ควรดำเนินการปรับปรุงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

 

2. ไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตา วันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เวลา 16.00 น.

สถานที่เกิดเหตุ

อาคารจัดเก็บผลิตภัณฑ์ ชั้น 1

สาเหตุเริ่มต้น

ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือทิ้งก้นบุหรี่ หรือการวางเพลิง

สาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง และมีผู้อาศัยในโรงงานผลิตตุ๊กตาเสียชีวิตจำนวนมาก

ทางหนีไฟไม่ได้มาตรฐาน เพียงพอต่อจำนวนของผู้ใช้อาคาร
ไม่ติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ไม่ทำงานขณะเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ขาดการบริหารจัดการ ควบคุมปริมาณและการจัดเก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง
เจ้าหน้าที่ขาดความพร้อมในการรับมือในเหตุการณ์
อาคารไม่มีการกั้นแยกพื้นที่

ความเสียหาย

เสียชีวิต 188 ราย และอาคารเสียหาย 4 หลังมีสภาพโครงสร้างพังทลายจากอาคารวิบัติ

3.ไฟไหม้และการระเบิดถังบรรจุน้ำมันเบนซิน คลังเก็บน้ำมันไทยออยล์ ศรีราชา วันที่ 2 ธันวาคม 2542 เวลา 23.30 น.

สาเหตุเริ่มต้น

Human Error ในการเปิด-ปิดวาล์ว ส่งผลให้น้ำมันล้นถัง ไอน้ำมันผสมกับอากาศและเกิดจุดติดไฟ จากประกายไฟของการสตาร์ทยานพาหนะขึ้น

สาเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง

ความผิดพลาดของระบบตรวจสอบ ระบบสั่งตัดอัตโนมัติ และสัญญาณแจ้งเหตุภาวะที่เกิดการล้นถัง
ไม่มีระบบดับเพลิง อุปกรณ์ดับเพลิง โดยเฉพาะโฟมมีไม่เพียงพอต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น
ขาดผู้บัญชาการเหตุฉุกเฉิน

ความเสียหาย

ทรัพย์สิน 600 ล้านบาท เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 17 ราย
ถ้งน้ำมันเบนซินเสียหาย 4 ถัง
อาคารสำนักงาน อาคารสถานีดับเพลิง อาคารศูนย์พยาบาล อาคารซ่อมบำรุง โรงกลั่นฯ เสียหายและพังทลาย
รถยนต์ดับเพลิง 5 คัน รถยนต์ 15คัน รถจักรยานยนต์ 3 คัน
บ้านเรือนราษฎรบริเวณใกล้เคียงเสียหายบางส่วน 322 หลังคาเรือน

สรุป

ระบบป้องกันอัคคีภัยจึงมีความสำคัญได้ถูกพัฒนาเพื่อให้อัตราการเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ อัตราการเสียชีวิต และทรัพย์สิน ลดน้อยลงไป